วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

Learning journal week5(ต่อ)

Finite State Machine(FSM)

Finite State Machine

คือวงจรเชิงลำดับซึ่งออกแบบเป็นสถานะการทำงาน (state) ของวงจรออกเป็นหลายๆ สถานะ แต่ละสถานะมีลอจิกการทำงานที่ต่างกัน เพื่อกำเนิดค่าเอาต์พุตและค่าสถานะถัดไป มีสัญญาณสถานะที่กำหนดว่าสถานะปัจจุบันเป็นสถานะไหน สัญญาณของสถานะจะถูกเก็บไว้ใน register ดังนั้นสถานะจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ที่ขอบขาของ clock เท่านั้น

output ของ Finite State Machine มี 2 ประเภท คือ


1.เครื่องจักรแบบมัวร์ output จะเป็นฟังก์ชันของสถานะเพียงอย่างเดียว คือ outputเปลี่ยนแปลงตามจังหวะของ clock แต่ละสถานะมีค่าของ output ที่กำหนดแน่นอน output จะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อสถานะเปลี่ยน

2.เครื่องจักรแบบเมลลี่ output ของสถานะนั้นๆเป็นฟังก์ชันของสถานะปัจจุบันและ input 



การออกแบบวงจร Sequential logic

การออกแบบวงจร Sequential logic  มีวิธีดังนี้
  1. เขียนแผนภาพ(State Diagram)
  2. เขียนตาราง(Next- Stase Table)
  3. เลือกฟลิปฟลอปที่จะใช้งานและเขียนตารางการเปลี่ยนแปลง
  4. เขียนแผนผังคาร์นอจท์
  5. เขียนสมการลอจิกทางอินพุตของฟลิปฟลอบ

ส่วนต่างๆของ State Diagram


Finite State Machine

วงกลม คือ state

ส่วนบนภายในวงกลม คือ ระบุชื่อที่อธิบาย state นั้นๆ

ส่วนล่างภายในวงกลม คือ output ของ state นั้นๆ

ลูกศร คือ การเปลี่ยนจาก states หนึ่งไปอีก state หนึ่ง ซึ่งการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นทุกๆ clock

ตัวเลขบนลูกศร คือ ลอจิกของ input ที่ทำเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ state นั้นๆ

Classwork :



 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น