วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

Learning journal week6

Counter & Shift register

counter

counter หรือ วงจรนับ เกิดจากการนำเอาฟลิปฟล็อปที่ต่อกันเป็นวงจรมานับจำนวนคล๊อก (Clock) หรือพัลซ์ (Pulse) ที่ป้อนเข้าทางอินพุต หรือบางที่อาจเรียกว่าวงจรหารความถี่ หลักการทำงาน ของวงจรส่วนใหญ่จะเป็นวงจรการนับแบบเลขฐานสอง วงจรนับสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ
  1. วงจรการนับแบบไม่เข้าจังหวะ (Asynchronous Counter หรือ Ripple Counter)
  2. วงจรการนับแบบเข้าจังหวะ (Synchronous Counter หรือ Parallel Counter)

วงจรการนับแบบไม่เข้าจังหวะ (Asynchronous Counter)


Assignment1

วงจรถอดรหัสโดยใช้ D type flip-flop


การออกแบบวงจร



วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

Learning journal week5(ต่อ)

Finite State Machine(FSM)

Finite State Machine

คือวงจรเชิงลำดับซึ่งออกแบบเป็นสถานะการทำงาน (state) ของวงจรออกเป็นหลายๆ สถานะ แต่ละสถานะมีลอจิกการทำงานที่ต่างกัน เพื่อกำเนิดค่าเอาต์พุตและค่าสถานะถัดไป มีสัญญาณสถานะที่กำหนดว่าสถานะปัจจุบันเป็นสถานะไหน สัญญาณของสถานะจะถูกเก็บไว้ใน register ดังนั้นสถานะจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ที่ขอบขาของ clock เท่านั้น

output ของ Finite State Machine มี 2 ประเภท คือ


1.เครื่องจักรแบบมัวร์ output จะเป็นฟังก์ชันของสถานะเพียงอย่างเดียว คือ outputเปลี่ยนแปลงตามจังหวะของ clock แต่ละสถานะมีค่าของ output ที่กำหนดแน่นอน output จะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อสถานะเปลี่ยน

2.เครื่องจักรแบบเมลลี่ output ของสถานะนั้นๆเป็นฟังก์ชันของสถานะปัจจุบันและ input 


Learning journal week5

Flip-Flop

sequential circuits & combinational logic

ลักษณะการทำงานของlogicแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือsequential circuits และ combinational logic
combinational logic คือ วงจรลอจิกเชิงจัดหมู่ซึ่งเป็นวงจรที่ให้ค่าทางเอาท์พุตแปรตามค่าทางอินพุตอย่างคงที่ เช่น logic gate แบบต่างๆ
sequential circuits คือ วงจรลอจิกเชิงลําดับการทํางาน จะแตกต่างจากแบบแรก คือค่าทางเอาท์พุตจะแปรตามค่าทางอินพุต และค่าสถานะของวงจรก่อนหน้านั้นด้วยค่าสถานะของวงจรก่อนหน้าจะถูกเก็บไว้ด้วยวงจรที่ทําหน้าที่เป็นหน่วยความจําแล้วป้อนกลับเข้าไปใหม่
combinational logic

sequential circuit

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

Learning journal week4

MUX , DEMUX , ENCODER , DECODER


    วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับIC 4ชนิดที่สำคัญ ซึ่งมีโอกาสได้ใช้บ่อยในวงจรดิจิตอล คือ

 Multiplexer ( MUX )

      
        ICชนิดนี้ทำหน้าที่แบบเดียวกับ selector switch คือ เป็นสวิตช์ที่สับเปลี่ยนเส้นทางของวงจรได้ แต่จะอยู่ในรูปของsemiconductor ไม่ใช่ mechanic แบบจำพวกรีเลย์หรือสวิตซ์ธรรมดา  นั่นทำให้ICชนิดนี้ตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดีกว่า 
การทำงานของIC จะใช้ไฟฟ้าเป็นตัวเลือกเส้นทางของInput นั่นคือ Outputจะขึ้นอยู่กับสัญญาณไฟฟ้าที่จ่ายเข้ามาที่ขาselectว่าให้ขาInputใดทำงาน

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

Learning journal week 3

k map (Karnaugh   Map)

สำหรับการลดรูปโดยใช้ k map (Karnaugh   Map) นั้นมีไว้เพื่อลดรูปที่มีตัวแปลหลายๆตัวนั้นจะมีความสันและง่ายกว่า ความผิดพลาดเองก็จะน้อยกว่า สำหรับการทำ k map นั้นสามารถใช้ได้กับสมการที่มี ตัวแปรไม่เกิน ไม่เกิน 5 ตัว เพราะถ้ามีมากกว่า 5 แล้วเขียน k map ได้ยากและผิดพลาด ได้ง่าย ควรใช้วิธีการลดรูปสมการแบบอื่นแทน

k map 2 ตัวแปร



รูปที่1.1