วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

Learning journal week6

Counter & Shift register

counter

counter หรือ วงจรนับ เกิดจากการนำเอาฟลิปฟล็อปที่ต่อกันเป็นวงจรมานับจำนวนคล๊อก (Clock) หรือพัลซ์ (Pulse) ที่ป้อนเข้าทางอินพุต หรือบางที่อาจเรียกว่าวงจรหารความถี่ หลักการทำงาน ของวงจรส่วนใหญ่จะเป็นวงจรการนับแบบเลขฐานสอง วงจรนับสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ
  1. วงจรการนับแบบไม่เข้าจังหวะ (Asynchronous Counter หรือ Ripple Counter)
  2. วงจรการนับแบบเข้าจังหวะ (Synchronous Counter หรือ Parallel Counter)

วงจรการนับแบบไม่เข้าจังหวะ (Asynchronous Counter)


Assignment1

วงจรถอดรหัสโดยใช้ D type flip-flop


การออกแบบวงจร



วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

Learning journal week5(ต่อ)

Finite State Machine(FSM)

Finite State Machine

คือวงจรเชิงลำดับซึ่งออกแบบเป็นสถานะการทำงาน (state) ของวงจรออกเป็นหลายๆ สถานะ แต่ละสถานะมีลอจิกการทำงานที่ต่างกัน เพื่อกำเนิดค่าเอาต์พุตและค่าสถานะถัดไป มีสัญญาณสถานะที่กำหนดว่าสถานะปัจจุบันเป็นสถานะไหน สัญญาณของสถานะจะถูกเก็บไว้ใน register ดังนั้นสถานะจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ที่ขอบขาของ clock เท่านั้น

output ของ Finite State Machine มี 2 ประเภท คือ


1.เครื่องจักรแบบมัวร์ output จะเป็นฟังก์ชันของสถานะเพียงอย่างเดียว คือ outputเปลี่ยนแปลงตามจังหวะของ clock แต่ละสถานะมีค่าของ output ที่กำหนดแน่นอน output จะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อสถานะเปลี่ยน

2.เครื่องจักรแบบเมลลี่ output ของสถานะนั้นๆเป็นฟังก์ชันของสถานะปัจจุบันและ input